ทรงพระเจริญ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

1. กังหันน้ำชัยพัฒนา


ปัญหาของน้ำเน่าเสียก็คือมีออกซิเจนน้อย แนวคิดการบำบัดน้ำเสียในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงอาศัยหลักการที่เรียบง่าย คือมุ่งเพิ่มออกซิเจนลงไปในน้ำระหว่างเสด็จฯ ทรงงานในต่างจังหวัด ทรงสังเกตเห็น ‘หลุก’ คือน้ำที่ไหลจากลำธารบนเขา จะทำเป็นวงกลมเหมือนล้อเกวียน ด้านหนึ่งเป็นกระบวยตักน้ำ พอกระแสน้ำไหลออกมา แรงน้ำจะทำให้กระบวยตักน้ำไปเรื่อยๆ จึงทรงนำแนวคิดนี้มาพัฒนาเป็น ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’

โดยหลักการคือ เอาทุ่นลอย ๒ ตัววางประกบกัน มีกังหันทำเป็นซองตักวิดน้ำ ออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อจะได้ตักน้ำได้ในปริมาณมากๆ เมื่อกังหันหมุนไปซองจะตักน้ำแล้วโปรยสาดกระจายเป็นฝอย ซึ่งระหว่างนั้นก็จะผสมออกซิเจนเข้าไปด้วย เมื่อทดลองนำไปใช้ปรากฏว่าได้ผลดีมากและทั้งยังมีต้นทุนในการบำบัดต่ำอีกด้วย

‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’ ได้รับรางวัลที่ ๑ ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยคณะกรรมการได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เครื่องกลเติมอากาศ ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’ ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น ‘สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นครั้งแรกของโลก’

The Belgian Chamber of Inventor องค์กรสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ได้จัดนิทรรศการ ‘Brussels Eureka 2000 : 49 th Word Exhibition Innovation, Research and New Technology’ ขึ้นระหว่างวันที่ ๑๔-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ในงานดังกล่าวมีผลงานแสดงนิทรรศการกว่า ๑๐๐ ประเทศ ประกอบไปด้วยประเทศในยุโรปและเอเชีย ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้นำผลงานการประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ‘เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา)’ ไปแสดงนิทรรศการในงานดังกล่าวด้วย รวมทั้งผลงานการประดิษฐ์คิดค้นในหน่วยงานต่างๆ รวม ๒๑ ผลงาน ในงานนี้ คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติได้ประกาศมอบถ้วยรางวัล และประกาศนียบัตรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการประดิษฐ์คิดค้นผลงาน ‘เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา)’
2. โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ด้านสิ่งแวดล้อม

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนายิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการนำเอาทรัพยากรมาใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการทีเหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง


โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการที่จะทำนุบำรุง และปรับปรุงสภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งมีสาระโดยสรุปดังนี้

๑. ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน
ในช่วยระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมด และพยายามหาพื้นที่ชดเชยด้วยการอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่กระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้หากไม่รีบแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้ได้ใช้ประโยชน์ ดังเช่น โครงการแกล้งดิน ที่ได้ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสไว้ดังนี้

“..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด ๒ ปี และพืชทำการทดลองควรเป็นข้าว...”

“...ที่ที่น้ำท่วมที่หาประโยชน์ไม่ได้ ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องการทำมาหากินอย่างมหาศาล...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาในเรื่องดินทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาดินที่เสื่อมโทรม ขาดคุณภาพและการขาดแคลนที่ดินทำกินสำหรับการเกษตร ดังนี้
๑.๑ สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดินและสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ดังพระราชดำรัสความว่า
“...การปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไปสงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน...”
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นเพื่อทำการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน รวมถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวให้เป็นดินที่มีคุณภาพ สามารถทำการเพาะปลูกได้ ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการพัฒนาปรับปรุงดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทราย ดินดาน ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
นอกจากนั้นเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้นว่า ให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทานพระราชดำริอีกกว่า ๒๐ ครั้ง เกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ดังเช่น เมื่อวัน ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับหญ้าแฝกตอนหนึ่งว่า

“...ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศเป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น...”

การดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้จะต้องชี้แจงให้ราษฎรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย

๑.๒ การจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินว่างเปล่าแล้วจัดสรรให้เก่เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขาให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไปี้
ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่า ต้องวางแผนการจัดให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วยการจัดสรรพื้นที่ทำกินควรจัดสรรตามแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทานเป็นหลักปัญหาการขาดแคชนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหาจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการทำการเกษตร “ทฤษฎีใหม่” ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“...ทฤษฎีใหม่...เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมากแต่ก็พอกินไม่อดอยาก...”
เป็นการพัฒนาพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ด้วยการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล ทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วนคือ - ร้อยละ ๓๐ ที่หนึ่งสำหรับปลูกข้าว - ร้อยละ ๓๐ ที่สองสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน - ร้อยละ ๓๐ ที่สามสำหรับขุดสระน้ำไว้ใช้ในการเกษตร รวมถึงเลี้ยงปลาไว้บริโภค - ร้อยละ ๑๐ สุดท้ายเป็นที่อยู่อาศัย พร้อมกับปลูกพืชสวนครัวในลักษณะแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีกินตลอดทั้งปี

3 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบดีว่าประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรและอาศัยน้ำฝน จึงทรงเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำเป็นพิเศษและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมทั้งรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ที่ทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้าไปศึกษาและนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้โดยที่มีการอนุรักษ์ ต้นน้ำลำธารและพัฒนาป่าไปพร้อม ๆ กัน สุดท้ายความชุ่มชื้นจะเกิดขึ้นและจะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ในที่สุด โดยพระราชทานพระราชดำริให้มีการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ความว่า

“...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กๆเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วนโดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขี้ยวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...”
ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแยกออกเป็น ๒ ประเภท ดังพระราชดำรัส คือ
“..Check Dam มี ๒ อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้นรักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่...”
อาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้นประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง
การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า
“...สำหรับ Check Damชนิดป้องกันไม่ให้ทรายลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึก เพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ได้ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไร ไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ
“...ให้ดำเนินการสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูง ที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน ๒ เดือน...การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยง และประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงจะโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้...”


แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนที่ 4 การสื่อความหมาย
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3.


4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elments หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น จะทำอย่างไรให้ผู้รับสารเข้าใจเกี่ยวกับสารให้มากที่สุด
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัส และเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น แชมพูที่มี Treatment เพื่อไว้บำรุงผม แต่ในที่นี้หมายถึงรูปแบบของการสื่อความหมาย (Style)
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง ฯลฯ
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆ ได้
13. Decode หมายถึง ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ 1. อุปสรรคด้านภาษา (Verbalism)2. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
3. ขีดจำกัดของประสาทสัมผัส (Limited Perception)4. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)5. การไม่ยอมรับ6. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้




15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมแก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหากวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียนดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นวัตกรรมในการผลิตรถยนต์ เสนออาจารย์ชวน ภวังคนันท์

ฮอนด้า โอดิสซีย์ ชูจุดขาย รถอเนกประสงค์ระดับพรีเมียม
บรรณาธิการ : กองบรรณาธิการยวดยาน ช่างภาพ :

ฮอนด้า ขอแชร์ตลาดเอ็มพีวี ส่งโอดิสซีย์ ใหม่ ร่วมแจม ชูจุดขายความอเนกประสงค์สมบูรณ์แบบระดับพรีเมียม ควบคู่กับการขับขี่ที่เร้าใจด้วยเครื่องยนต์ DOHC i-VTEC ขนาด 2.4 ลิตร เล็งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าระดับผู้บริหาร หวังยอดขาย 2 เดือนสุดท้าย 100 คัน คาดปี 48 ขยับเป้าเพิ่มอีก 300 คันบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว ฮอนด้า โอดีสซีย์ เจเนอเรชั่นที่ 3 หลังประสบความสำเร็จจาก 2 เวอร์ชั่นแรก ด้วยยอดจำหน่ายสะสมรวมกว่า 2,000 คัน ซึ่งโอดีสซีย์ ใหม่ นี้เป็นนวัตกรรมรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ที่มาพร้อมรูปแบบการจัดที่นั่งที่มีความยืดหยุ่นสูง และให้สมรรถนะการขับขี่ในแบบซีดานได้อย่างลงตัวมร.โยอิจิ อาโอกิ ประธานบริหารบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับโอดีสซีย์ ใหม่ ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด Innovative Premium MPV หรือนวัตกรรมรถยนต์นั่งระดับพรีเมียม สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 คน ขณะเดียวกันก็มีการควบคุมบังคับที่ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบจุดศูนย์ถ่วงของรถให้ต่ำลง เพื่อความคล่องตัวในการขับขี่ รวมทั้งมีระบบความปลอดภัยที่เป็นเลิศ ด้านการออกแบบนั้น มีจุดมุ่งหมายก็คือ “The Best of Two World” ซึ่งเป็นการผสมผสานความอเนกประสงค์และพื้นที่ใช้สอยในรถมินิแวน กับสมรรถนะการขับขี่และรูปลักษณ์ความสวยงามแบบรถซีดานเข้าไว้ด้วยกัน ให้ความล้ำสมัยสไตล์สปอร์ต ขุมพลังของ โอดีสซีย์ ใหม่ เป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร DOHC i-VTEC ให้แรงม้าสูงสุดที่ 160 แรงม้า ให้แรงบิดที่ 22.2 กก.-ม. นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานไอเสียในระดับ EURO 4 ซึ่งมีค่ามาตรฐานไอเสียดีกว่าปัจจุบันถึง 1 ใน 3 จุดเด่นของโอดีสซีย์ ใหม่ อยู่ที่การจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ภายในห้องโดยสารที่มีความกว้างขวาง สะดวกสบายเพิ่มขึ้น การปรับพับเบาะได้อย่างหลากหลาย พร้อมระบบปรับพับเบาะที่นั่งตอนท้ายให้แบนราบด้วยไฟฟ้า ให้ความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นนายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงแผนการตลาดว่า ปัจจุบันตลาดรถนำเข้าหรือ CBU รถยนต์ระดับพรีเมียมอยู่ที่ประมาณ 3,000 คันต่อปี คู่แข่งในตลาดได้แก่ รถมินิแวนนำเข้า อาทิ TOYOTA ESTIMA, MAZDA MPV รถ SUV อย่าง TOYOTA HARRIER หรือรถยนต์นั่งซีดานระดับหรูอย่าง LEXUS, BMW Series 3 และ MERCEDES-BENZ C-Class ซึ่งด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของโอดีสซีย์ ใหม่ และการให้บริการที่ครบวงจร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ น่าจะมีโอกาสที่ดีในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดรถในกลุ่มนี้ได้ไม่ยากนักสำหรับกลุ่มเป้าหมาย บริษัทเล็งเป้าไปที่กลุ่มเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ นักธุรกิจระดับผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบรถยนต์ฮอนด้า หรือเคยเป็นเจ้าของรถฮอนด้ามาก่อน โดยบริษัทได้ตั้งเป้าหมายการจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ไว้ที่ 100 คัน ส่วนยอดขายในปี 2548 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 300 คัน คาดว่าจะเริ่มทยอยส่งมอบรถให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน เป็นต้นไปนอกจากนี้ยังได้เตรียมแผนการส่งเสริมการขาย โดยจัดเตรียมพื้นที่ภายในงาน Motor Expo เพื่อเปิดตัวแนะนำกับสาธารณชน ตั้งแต่ 30 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป พร้อมจัดเตรียมแผนโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาทางตรง ภายใต้ชื่อแคมเปญ “The New Odyssey, The New MPV Definition” เพื่อสื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความแตกต่างและคุณสมบัติของโอดีสซีย์ ใหม่ ที่เป็นนวัตกรรมของรถมินิแวนในปัจจุบัน ในการแนะนำโอดีสซีย์ ใหม่ นี้ ทางบริษัทยังได้นำเข้าชุดอุปกรณ์ตกแต่งสไตล์สปอร์ตจากประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้ที่ต้องการความโดดเด่นอีกด้วยสำหรับการประกอบในประเทศนั้น ทางบริษัทไม่มีแผนการดังกล่าว ซึ่งการนำโอดีสซีย์ ใหม่ เข้ามาจำหน่ายในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงมาตรฐานแห่งนวัตกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงของยนตรกรรมฮอนด้า มร.โยอิจิ อาโอกิ กล่าว