ภูมิปัญญาไทยสาขาอุตสหกรรมและศิลปกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้สักทอง
เดิมราษฎรในท้องที่ตำบลบ้านกล้วยอำเภอเมืองประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ก็มีฝีมือทางด้านการช่างไม้ เมื่อเสร็จฤดูทำนาก็หันมาประกอบอาชีพซ่อมตกแต่งตู้โบราณเป็นงานเสริม ต่อมามีลูกค้าทวีจำนวนมากขึ้นจากหลายจังหวัดใกล้เคียงและจากกรุงเทพมหานคร การทำตู้โบราณจึงเกิดขึ้นโดยช่างไม้ผู้มีฝีมือดีจัดหาไม้สักทองมาประกอบทำตู้โบราณขึ้นมาใหม่ โดยยึดรูปทรงตู้โบราณของเก่าไว้ ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงหันมาประกอบอาชีพทำตู้โบราณมากขึ้น ต่อมาทางจังหวัดสุโขทัยได้เข้าไปช่วยแนะนำให้ราษฎรรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา คณะกรรมการสหกรณ์ได้ดำเนินการจดทะเบียนสหกรณ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อว่า "สหกรณ์บริการหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้บ้านขวาง จำกัด" ปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปไม้และโรงค้าสิ่งประดิษฐ์รวม 7 โรงงาน ไม้สักทองที่นำมาทำตู้โบราณนั้น เป็นไม้ถูกต้องตามกฎหมาย สหกรณ์ฯ บ้านขวางได้แต่งตั้งคณะกรรมการเป็นผู้จัดหาซื้อไม้ โดยในการซื้อไม้แต่ละครั้งนั้น สมาชิกจะรวมกันเป็นกลุ่มแต่ละโรงงานแล้วนำเงินให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายไปจัดหาซื้อไม้ท่อนจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือตามสวนป่าต่าง ๆ แล้วนำไม้สักท่อนแปรรูปที่โรงเลื่อยองค์การ อุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) หรือโรงเลื่อยเอกชนแล้วนำไม้สักที่แปรรูปแล้วส่งจังหวัดสุโขทัยให้สมาชิกสหกรณ์ ฯ ที่สั่งซื้อนำไปแปรรูปเป็นหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ตู้โบราณต่อไป สมาชิกที่ประจำอยู่แต่ละโรงงานจะผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งทำ ในการทำตู้โบราณแต่ละชิ้นจะมีองค์ประกอบหลายอย่าง ต้องผสมผสานช่างศิลปะด้านต่าง ๆ แล้วนำมารวมกัน เช่น ช่างทำตู้โบราณ ช่างทำลวดลาย ช่างกลึงไม้ ช่างแกะลาย ช่างทาสี ช่างกระจก ผลิตภัณฑ์ตู้โบราณหนึ่งชิ้นจึงทำรายได้ให้หลายครอบครัวมีงานทำ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมศิลปหัตถกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สักทองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดสุโขทัยอีกด้วย
ภูมิปัญญาไทยสาขาอุตสาหกรรมและศิลปกรรมงานแกะสลักไม้สัก
งานแกะสลักไม้สัก เป็นงานฝีมือของชาวบ้านจังหวัดสุโขทัยที่เกิดจากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว สิ่งนั้นคือ เศษไม้ที่โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้ทิ้งไว้ แต่ชาวบ้านนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ด้วยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแกะสลักเศษไม้ให้เป็นรูปแบบต่าง ๆตามต้องการ แล้วนำมาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น งานแกะสลักไม้สักเป็นงานฝีมือของชาวบ้านในตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นงานที่ต่างจากงานแกะสลักไม้จากจังหวัดเชียงใหม่โดยมีรูปแบบไม่ซ้ำกันเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกัน รูปแบบที่นำมาแกะสลักส่วนใหญ่เป็นองค์พระพุทธรูป และตัวสัตว์ อาทิ เช่น นกคุ้ม นกยูง นกเงือก ปลาปักเป้า ปลากัด แมว เป็ด กบ ฯลฯ งานฝีมือเหล่านี้ล้วนเป็นเอกลักษณ์ หรือของดีประจำจังหวัดสุโขทัยเช่น "นกคุ้ม" เป็นนกที่มีชื่อไพเราะเรียกว่า คุ้มเงินคุ้มทอง บางคนซื้อแล้วนำไปปลุกเสก เอาตั้งไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ส่วนมากจะขายได้เฉพาะคนไทยที่เข้าใจความหมายของคำว่านกคุ้ม ลูกค้าบางคนที่เชื่อถือเรื่องดวงชะตาก็นิยมซื้อตัวสัตว์ที่เข้ากับวันเดือนปีเกิดของตนเอง
สำหรับลูกค้าที่เป็นชาวต่างประเทศจากทวีปยุโรปและอเมริกา จะนิยมซื้อองค์พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่ยังคงอนุรักษ์ความงดงามอยู่เช่นเดิม ส่วนลูกค้าที่เป็นชาวเอเชียจะชื่นชอบตัวสัตว์ เช่น แมว นก และปลา โดยเฉพาะปลากัด เป็นไม้สักชิ้นเดียว แกะให้เป็นตัวโดยไม่มีการต่อเติมส่วนประกอบของปลา บางครั้งก็มีรูปแบบพิเศษที่ลูกค้ากำหนด เช่น รถตุ๊กตุ๊ก เรือพื้นบ้าน กรอบรูปลวดลายโบราณเก่าแก่สมัยสุโขทัย
ไม้สักเป็นไม้ที่เก่าแก่มีคุณค่าแก่การสะสม เมื่อนำมาแกะสลักเป็นรูปลักษณ์ที่งดงามเห็นลายไม้ชัดเจน ถ้าไม่ต้องการลงสีเพียงแต่ลงแวกซ์ให้เงางามก็เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี
สำหรับลูกค้าที่เป็นชาวต่างประเทศจากทวีปยุโรปและอเมริกา จะนิยมซื้อองค์พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่ยังคงอนุรักษ์ความงดงามอยู่เช่นเดิม ส่วนลูกค้าที่เป็นชาวเอเชียจะชื่นชอบตัวสัตว์ เช่น แมว นก และปลา โดยเฉพาะปลากัด เป็นไม้สักชิ้นเดียว แกะให้เป็นตัวโดยไม่มีการต่อเติมส่วนประกอบของปลา บางครั้งก็มีรูปแบบพิเศษที่ลูกค้ากำหนด เช่น รถตุ๊กตุ๊ก เรือพื้นบ้าน กรอบรูปลวดลายโบราณเก่าแก่สมัยสุโขทัย
ไม้สักเป็นไม้ที่เก่าแก่มีคุณค่าแก่การสะสม เมื่อนำมาแกะสลักเป็นรูปลักษณ์ที่งดงามเห็นลายไม้ชัดเจน ถ้าไม่ต้องการลงสีเพียงแต่ลงแวกซ์ให้เงางามก็เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ภูมิปัญญาไทยสาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมเครื่องทองโบราณ
ทองโบราณ หรือ ทองศรีสัชนาลัยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยที่บรรจงทำทองรูปพรรณเลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณได้อย่างสวยงาม จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติ เริ่มแรกทองโบราณเกิดขึ้นมาจากความคิดของช่างทองตระกูล "วงศ์ใหญ่" โดยมีนายเชื้อ วงศ์ใหญ่ อยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย มีอาชีพทำทองและรับซื้อทองเก่าหรือวัตถุโบราณ ทำให้มีโอกาสเห็นเครื่องทองรูปพรรณแบบโบราณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และนับวันจะหายากยิ่งขึ้น วันหนึ่งมีผู้นำสร้อยโบราณที่ได้จากริมฝั่งแม่น้ำยมมาให้ดู จึงเกิดความคิดที่จะทำสร้อยลายแบบนี้มาก สร้อยที่เห็นนั้นเป็นสร้อยที่ทำด้วยสัมฤทธิ์ถักสานเป็นสร้อยสี่เสา จึงได้แกะลายออกมาศึกษา แกะออกมาทีละปล้อง ทีละข้อ ใช้ลวดทองแดงถักร้อยตามรูปแบบเดิม แต่ไม่สำเร็จจึงตัดสินใจไปหาชาวบ้านที่มีอาชีพถักสานกระบุง ตะกร้าให้มีลวดลายมาลองถัก หลังจากนั้นจึงได้ใช้ทองคำที่เป็นเนื้อทองสมัยใหม่มาถักสาน เรียกว่า สร้อยสี่เสา นับเป็นสร้อยเส้นแรกที่เลียนแบบโบราณได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้ผลิตนำออกจำหน่ายที่ร้านขายของเก่าในจังหวัดเชียงใหม่ และร้านขายทองในตลาดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทำให้ทองโบราณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันการทำทองโบราณที่อำเภอศรีสัชนาลัยนั้นเป็นงานฝีมือทุกขั้นตอน รูปแบบที่นำมาผลิตได้จากรูปแบบเครื่องทองโบราณ ลวดลายประติมากรรม ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนเครื่องทองโบราณจากแหล่งอื่น ๆ มาประมวลกันและมีการพัฒนาตกแต่งในการลงยา คือ การตกแต่งเครื่องทองให้มีสีสันสวยงาม โดยใช้หินสีบดให้เป็นผงละเอียดคล้ายทรายแก้ว นำไปแต่งหรือทาบนเครื่องทอง แล้วเป่าไฟให้เนื้อทรายหลอมติดกับเนื้อทองเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น รูปแบบทองโบราณศรีสัชนาลัยจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างเด่นชัด
การทำทองโบราณศรีสัชนาลัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเครื่องประดับ เช่นสร้อยสามเสา สี่เสา ห้าเสา หกเสา แปดเสา สร้อยก้านแข็ง กำไลข้อมือ กำไลหลอด ข้อมือถักลายเปีย แหวนทอง แหวนทองลงยา เข็มขัด ต่างหู เข็มกลัด และเครื่องประดับอื่น ๆ
2. ประเภทเครื่องใช้สอย เช่น กระเป๋า ผอบ เชี่ยนหมาก กระถางโพธิ์เงิน กระถาง โพธิ์ทอง เสื้อถักทอง กรอบรูปทอง เป็นต้น
ทองโบราณเป็นงานหัตถกรรมที่ประณีต งดงามและมีคุณค่าสูงยิ่งควรแก่การส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป
ทองโบราณ หรือ ทองศรีสัชนาลัยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยที่บรรจงทำทองรูปพรรณเลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณได้อย่างสวยงาม จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติ เริ่มแรกทองโบราณเกิดขึ้นมาจากความคิดของช่างทองตระกูล "วงศ์ใหญ่" โดยมีนายเชื้อ วงศ์ใหญ่ อยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย มีอาชีพทำทองและรับซื้อทองเก่าหรือวัตถุโบราณ ทำให้มีโอกาสเห็นเครื่องทองรูปพรรณแบบโบราณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และนับวันจะหายากยิ่งขึ้น วันหนึ่งมีผู้นำสร้อยโบราณที่ได้จากริมฝั่งแม่น้ำยมมาให้ดู จึงเกิดความคิดที่จะทำสร้อยลายแบบนี้มาก สร้อยที่เห็นนั้นเป็นสร้อยที่ทำด้วยสัมฤทธิ์ถักสานเป็นสร้อยสี่เสา จึงได้แกะลายออกมาศึกษา แกะออกมาทีละปล้อง ทีละข้อ ใช้ลวดทองแดงถักร้อยตามรูปแบบเดิม แต่ไม่สำเร็จจึงตัดสินใจไปหาชาวบ้านที่มีอาชีพถักสานกระบุง ตะกร้าให้มีลวดลายมาลองถัก หลังจากนั้นจึงได้ใช้ทองคำที่เป็นเนื้อทองสมัยใหม่มาถักสาน เรียกว่า สร้อยสี่เสา นับเป็นสร้อยเส้นแรกที่เลียนแบบโบราณได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้ผลิตนำออกจำหน่ายที่ร้านขายของเก่าในจังหวัดเชียงใหม่ และร้านขายทองในตลาดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทำให้ทองโบราณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันการทำทองโบราณที่อำเภอศรีสัชนาลัยนั้นเป็นงานฝีมือทุกขั้นตอน รูปแบบที่นำมาผลิตได้จากรูปแบบเครื่องทองโบราณ ลวดลายประติมากรรม ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนเครื่องทองโบราณจากแหล่งอื่น ๆ มาประมวลกันและมีการพัฒนาตกแต่งในการลงยา คือ การตกแต่งเครื่องทองให้มีสีสันสวยงาม โดยใช้หินสีบดให้เป็นผงละเอียดคล้ายทรายแก้ว นำไปแต่งหรือทาบนเครื่องทอง แล้วเป่าไฟให้เนื้อทรายหลอมติดกับเนื้อทองเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น รูปแบบทองโบราณศรีสัชนาลัยจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างเด่นชัด
การทำทองโบราณศรีสัชนาลัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเครื่องประดับ เช่นสร้อยสามเสา สี่เสา ห้าเสา หกเสา แปดเสา สร้อยก้านแข็ง กำไลข้อมือ กำไลหลอด ข้อมือถักลายเปีย แหวนทอง แหวนทองลงยา เข็มขัด ต่างหู เข็มกลัด และเครื่องประดับอื่น ๆ
2. ประเภทเครื่องใช้สอย เช่น กระเป๋า ผอบ เชี่ยนหมาก กระถางโพธิ์เงิน กระถาง โพธิ์ทอง เสื้อถักทอง กรอบรูปทอง เป็นต้น
ทองโบราณเป็นงานหัตถกรรมที่ประณีต งดงามและมีคุณค่าสูงยิ่งควรแก่การส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น